จนท.ขนแม็คโครรื้อทำลายต้นปาล์มเขตป่า
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เจ้าหน้าที่ขนแม็คโครรื้อทำลายต้นปาล์มเขตป่าพรุกระชิง
พลพวงนโยบายทวงคืนผืนป่ายุค คสช. แต่ชาวบ้าน 36
ครัวเรือน ร่วมร้อยคน เข้าขวางอ้อนวอนขอความเป็นธรรมยืนยันพวกตนหาเช้ากินค่ำต้องหมดอาชีพ
เพราะไม่ใช่กลุ่มนายทุน สุดท้ายยุติด้วยดีทั้งสองฝ่าย
วันที่ 11 เมษายน 2565 ที่ป่าพรุกระชิง หมู่ที่ 2 ตำบลปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายธวัชชัย หนูวรรณ ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนที่ 3 ( ปะทิว-ชุมพร) สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอปะทิว ตำรวจ สภ.มาบอำมฤต ตำรวจกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.จ.ชุมพร ทหาร มทบ.44 ชุมพร เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษ(ฉลามขาว)
สนง.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี นำรถแม็คโครขนาดใหญ่เข้าทำพิธีรื้อถอนพืชผลอาสินซึ่งเป็นสวนปาล์มน้ำมันเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 17 พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 และมาตรา 25 ตาม พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 รวม 16 แปลง เนื้อที่ 826.07 ไร่ บริเวณท้องที่หมู่ที่ 2,3,4,5, ตำบลปากคลอง อ.ปะทิว
นายวิชัย สมรูป/ ผอ.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) |
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะเจ้าหน้าที่นำรถบรรทุกเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อรื้อถอนทำลายต้นปาล์ม ได้มีชาวบ้านจำนวน 36 ครอบครัว ร่วม 100 คน ที่เข้าทำกินอยู่ในที่ดินแปลงตรวจยึดดังกล่าวคนละ 10-15 ไร่ ได้รวมตัวเข้าเจรจาขอความเป็นธรรมอ้อนวอนกับเจ้าหน้าที่ขอไม่ให้นำรถแม็คโครลงจากรถบรรทุกเพื่อเข้าไปรื้อถอนทำลายสวนปาล์มของพวกตน โดยมี นายทรงสิทธิ์ พุ่มศรี นายก อบต.ปากคลอง นาย
สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์
อนุรักษ์ เรืองธัมรงค์
อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 นายสุชาติ ยาดำ อดีตกำนันตำบลปากคลอง
และนายลิขิต ศรีชาติ ทนายความ เข้าร่วมเจรจาและยืนยันว่าชาวบ้านทั้ง 36 ครัวเรือนเป็นราษฎรหาเช้ากินคำอยู่ในพื้นที่จริง ไม่ใช้กลุ่มนานทุน
โดยได้เข้ามาทำกินตั้งแต่ช่วงปี 2533
หลังเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ 1 ปี
เพื่อปลูกปาล์มเลี้ยงครอบครัวและส่งลูกเรียนหนังสือ หากรื้อถอนทำลายต้นปาล์มจะทำให้ชาวบ้านทั้งหมดนับร้อยคนต้องหมดอาชีพทำกิน
อีกทั้งยังมีหนี้สินกับ ธกส.อีกด้วย จะได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
แกนนำชาวบ้านยังบอกอีกว่าชาวบ้านเข้าทำกินเมื่อปี 2533 ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ป่าชายเลนในปี 2543 และต่อในปี 2557
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้มีนโยบายทวงคืนผืนป่าจากกลุ่มนายทุนและผู้บุกรุกในที่ดินของรัฐ
ทำให้ชาวบ้านยากจนที่ทำกินอยู่ก่อนได้รับความเดือดร้อน
ซึ่งขณะนั้นชาวบ้านทั้งหมดไม่กล้าออกมาแสดงตน
เพราะเกรงกลัวทหารที่ใช้อำนาจพิเศษเข้ามาในพื้นที่
ส่วนพื้นที่บกรุกที่เป็นของนายทุนจริง ๆ
เจ้าหน้าที่จะรื้อถอนทำลายชาวบ้านก็เห็นด้วยและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
ด้าน นายธวัชชัย หนูวรรณ
ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนที่ 3 ( ปะทิว-ชุมพร)
กล่าวกับชาวบ้านว่าตนมาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่มีอำนาจตัดสินใจใด ๆ
และขอประสานไปยังผู้บังคับบัญชา โดยได้โทรศัพท์ติดต่อไปยัง นายวิชัย
สมรูป ผอ.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจในเบื้องต้นได้มาในพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านทั้งหมด
สนับสนุนโดย เพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์
หลังเดินทางมาถึงพื้นที่ดังกล่าว
นายวิชัย สมรูป ผอ.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4
(สุราษฎร์ธานี) ได้พูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยบอกว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ซึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช.เมื่อปี 2557 เพื่อทวงคืนผืนป่า
ซึ่งในขณะนั้นไม่มีชาวบ้านที่เข้าไปทำกินได้ออกมาแสดงตน
ซึ่งจะด้วยเหตุผลใดตนไม่ทราบ เจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนจนมาถึงวันนี้
นายวิชัยกล่าวต่อว่าเพื่อหาข้อยุติดังนั้นจะต้องพิสูจน์การเข้ามาถือครองทำกินของชาวบ้านทั้ง
36
ครัวเรือนว่าเป็นชาวบ้านในพื้นที่จริงหรือไม่ โดยจะร่วมกับผู้นำท้องถิ่น
แกนนำชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจชี้จุดยืนยันตามที่ชาวบ้านทั้ง
36 ครัวเรือนกล่าวอ้าง
หลังจากได้ความจริงแล้วจะได้นำเสนอไปยังผู้บังคับบัญชา และรัฐมนตรีต่อไป
ส่วนผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องว่าไปตามนั้น
นายวิชัยกล่าวว่าสำหรับวันนี้ตนจะขอดำเนินการรื้อถอนทำลายพืชผลในแปลงที่ชาวบ้านยืนยันว่าเป็นของกลุ่มนายทุนและไม่มีใครมายืนยันแสดงตนในพื้นที่ตรวจยึดซึ่งมีอยู่ประมาณกว่า
400 ไร่ไปก่อน
เพื่อจะได้เร่งฟื้นฟูสภาพป่าและท้องถิ่นได้ช่วยกันดูแล โดยชาวบ้านทั้งหมดได้แสดงความยินดีและให้ความร่วมมือที่จะให้เจ้าหน้าที่ในการรื้อถือทำลายต้นปาล์มที่เป็นแปลงของนายทุนและยืนยันจะช่วยกันดูแล
ไม่ให้ใครเข้ามาบุกรุกในพื้นที่แห่งนี้อีกต่อไป
ด้าน นางนิภา
ศรีจันทร์ อายุ 80
ปี กล่าวว่าตนรู้สึกดีใจมาก
ๆที่วันนี้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้องเห็นใจชาวบ้าน
ยังไม่รื้อถอนทำลายต้นปาล์มของตนที่มีอยู่ประมาณ 15 ไร่
ที่ได้ทำกินมานานกว่า 20 ปี ตนนอนไม่หลับเลยหลังจากถูก
คสช.มายึดและจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อถอนทำลายสวนปาล์มของตนในวันนี้
ซึ่งตนคิดไว้ในใจแล้วว่าหากวันนี้เจ้าหน้าที่ทำลายต้นปาล์มของต ทำให้หมดอาชีพตนจะเดินทางไปหา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และจะขอตายที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
จะไม่กลับมาที่ จ.ชุมพร อีกแล้ว
ดังนั้นวันนี้ต้องขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่ยังมีความเมตตาเห็นใจพวกตน.
......................................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น