อดีตที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นประธานเททองหล่อองค์พระพุทธปฏิมาประจำหน่วยของตำรวจภูธรสวี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.วิษณุ สุระวดี ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสวี จ.ชุมพร พร้อมด้วยผู้ใต้บังคับบัญชา และประธาน กต.ตร. ประธานที่ปรึกษา กต.ตร. คณะกรรมการ เดินทางไปร่วมพิธีเททองหล่อองค์พระพุทธปฏิมา ณ
โรงหล่อพระเษมไม้ปั้นปฏิมา เลขที่ 152 หมู่ 6 ตำบลคลองใหม่ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถระสมาคม เลขานุการณ์สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง
อดีตที่ปรึกษาพิเศษ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานฝ่ายฆราวาส วัตถุประสงฆ์เพื่อเป็นที่สักการะของข้าราชการตำรวจและประชาชนชาวอำเภอสวีจังหวัดชุมพร
และพุทธศาสนิกชน
พ.ต.อ.วิษณุ สุระวดี ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสวี กล่าวว่าในนามของสถานี ตำรวจภูธรสวี และคณะกรรมการจัดงานกิจกรรม100 ปี สภ.สวี พร้อมด้วยสาธุชนที่มาร่วมงาน ในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ที่ได้กรุณามาเป็น
ประธานประกอบพิธีเททองหล่อองค์
พระพุทธปฏิมาประธานประจำหน่วยของตำรวจภูธรสวี คือ องค์พระพุทธสิหิงค์จำลอง แบบขนม
ต้ม ศิลปะสกุลช่างนครศรีธรรมราช ปางสมาธิ พร้อมรายงานความเป็นมาเรื่องการสร้างพระพุทธปฏิมาประธานประจำหน่วยในโอกาสงานบุญ
100 ปี สถานีตำรวจภูธรสวี ดังนี้
จากปรากฏหลักฐาน สภ.สวี มีการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2467 ไม่ปรากฏวันที่และเดือน โดยมี ส.ต.อ.บ่าว พุ่มสุวรรณ เป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ ประจำอำเภอสวี คนแรก ครั้นถึงปีมหามงคลในปี พ.ศ.2567 นี้ จึงถือว่า สภ.สวี ได้ให้บริการ
ประชาชนในการดูแลความปลอดภัยใสชีวิตและทรัพย์ ของพี่น้องประชาชนชาวอำเภอสวี
มาเป็นเวลาครบ 100 ปี สร้างคุณประโยชน์และคุณงามความดี
มามากมาย สั่งสมความดีมาตั้งแต่ตำรวจในยุคแรกเริ่มก่อตั้ง ด้วยความเป็นมงคลนี้
ประกอบกับ สภ.สวี
ยังไม่มี หอพระและพระประธาน สำหรับให้ข้าราชการตำรวจ และประชาชนที่มาติดต่อ
ราชการได้เคารพกราบไหว้บูชา เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ทางคณะ กต.ตร. โดยนางสาวจุฑารัตน์
ชูลิต รัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนาโพธิ์ ประธาน กต.ตร. นายบำรุง อุชุภาพ ประธานที่ปรึกษา กต.ตร. และ
สภ.สวี จึงได้มีแนวคิดในการก่อสร้างหอพระ และพระประธาน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นที่สักการะของข้าราชการตำรวจและประชาชนชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในการออกแบบองค์พระได้รับคำแนะนำจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการ สมเด็จ
พระสังฆราช มาโดยตลอด จนในที่สุดก็ได้องค์พระพุทธปฏิมาประธาน คือ
พระพุทธสิหิงค์ ปางสมาธิ ทรงขัดสมาธิเพชร เป็นศิลปะแบบขนมต้ม
สกุลช่างนครศรีธรรมราช ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว เนื้อสำริด
ลงรักปิดทองที่ฐานพระ
โดยการจัดสร้างองค์พระในครั้งนี้ ได้ขอประทานอนุญาต เชิญอักษรพระนามย่อ ออป. ประดิษฐานที่ฐานพระด้านหน้าพระพุทธรูป และขอประทานแผ่น โลหะทรงจาร มวลสารศักดิ์สิทธิ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชสกล มหาสังขปรินายก จึงถือเป็นสิ่งมหามงคล และเป็นนิมิตรหมายที่ดี ใน การบำรุงขวัญ เสริมสร้าง คุณธรรม
จริยธรรม ตามหลักของพระพุทธศาสนา และให้เป็นขวัญกำลังใจ
และความภาคภูมิใจให้แก่ข้าราชการตำรวจ และชาวอำเภอสวี เป็นที่สักการบูชาอันเป็นสิริมงคล
พร้อมทั้งเป็นศูนย์รวม จิตใจของประชาชนทุกหมู่เหล่า และพุทธศาสนิกชนตลอดไป
จำนวนการจัดสร้าง พระประธานและพระบูชาขนาด 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว ที่มีการ จัดสร้างในครั้งนี้
มีการจัดสร้างรวมทั้งสิ้นรวม 153 องค์ โดยองค์พระประธานจะนำไปประดิษฐาน
ที่หอพระอนุสรณ์ 100 ปี ของตำรวจและประชาชนชาวอำเภอสวี
ที่ด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรสวี ใน วันที่ 12 ธันวาคม 2567
สำหรับประวัติพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทย
สักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลและมีอยู่ หลายองค์ด้วยกันกระจายไป
ตามจังหวัดต่าง ๆ แต่ที่ถือว่าเป็นองค์แท้จริงมีเพียง 3 องค์คือ องค์แรกประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร องค์ที่สองประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงค์
จังหวัดเชียงใหม่
องค์ที่สามประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามประวัติเชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้ คือ พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ปรากฏเรื่องราวตาม “สิหิงคนิทาน” หรือ ตำนานของพระพุทธสิหิงค์ เนื่องจากมีความที่ระบุเรื่องราวเกี่ยว ข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ กล่าวคือพระพุทธสิหิงค์ สร้างที่ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ.700 พ่อขุนรามคำแหง
แห่งกรุงสุโขทัยได้ ทรง ทราบกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามจึงทรง ขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช จัดส่งราชทูตไปลังกา ขอพระพุทธรูปองค์นี้มาบูชา ซึ่งก็ได้มาตามราช ประสงค์ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงาน พิธีสมโภชใหญ่โต เป็นเวลา 7 วัน การ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้า
มายังดินแดนไทยโดยผ่านทางนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองที่มี
การติดต่อ สัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด
ตามตำนานนั้นว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงยัง
นครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง ส่วนพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่น
จำลองไว้บูชา 1 องค์ แล้วได้อัญเชิญไปไว้ ณ กรุงสุโขทัย
คนไทยเชื่อว่า เมื่อพระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ ณ ที่ใด จะทำให้พระพุทธศาสนาที่นั้น เจริญรุ่งเรือง และถือว่า พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเทศกาลสงกรานต์ ดังนั้นเมื่อถึง วันสงกรานต์ ก็จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำ สักการบูชา และขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่ไทย
สำหรับภาคใต้
พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่งว่ากันว่าผู้ทุจริตคิดมิชอบ
ทั้งหลายจะไม่กล้าสาบานต่อหน้าองค์พระเลยหลังจากที่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัดแล้วคดีความ
ที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักมีการเอ่ยอ้างนามพระพุทธสิหิงค์ในการสาบานตัว
ทำให้ไม่มีใคร กล้าเบิกความเท็จ
..............................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น