ชาวบ้านร่วมทำฝายชะลอน้ำแบบ “แกนดินหินก่อ”บ้านคอกม้าช่วยลดความเดือดร้อนกว่า 50 ครัวเรือน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
วันที่ 27 มิ.ย.65 ที่คลองคอกม้า หมู่ที่ 6 ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายเจริญโชค พรหมชุติมา นายอำเภอปะทิว พร้อมด้วยนายอำนาจ ทองหญีต นายกเทศมนตรีบางสน ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอปะทิว ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ สาขาชุมพร
(ผู้แทนมูลนิธิบัวหลวงธนาคารกรุงเทพ) ท้องถิ่นอำเภอปะทิว
กำนันตำบลบางสน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้จัดการศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว และคณะครู
นักเรียนโรงเรียนบ้านคอกม้า เข้าร่วมทำฝายชะลอน้ำแบบแกนดินหินก่อบ้านคอกม้า
นางชิดสุภางค์ ชำนาญ ผู้ประสานงานเครือข่ายบริหารจัดการน้ำชุมชนอำเภอปะทิว ภายใต้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)
กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำชุมชนปะทิว มีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชนในพื้นที่ชุมชนปะทิวภายใต้การ
อำนวยการของมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
(สสน.) นั้น เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำอย่างสมบูรณ์
3 ระดับคือ น้ำอุปโภค น้ำบริโภค
และน้ำเพื่อการเกษตร และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกัน
เห็นประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชุมชนหลายพื้นที่หลายตำบลได้รับประโยชน์จากทรัพยากรน้ำในการดำรงชีวิตประจำวันด้านอุปโภค บริโภค และการเกษตร การสร้างฝายชะลอน้ำ ทุกประเภท ทุกชนิด เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
เป็นอย่างมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ช่วยเก็บกักน้ำ ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำ
เพื่อการอุปโภคบริโภคในชุมชนเกิดประโยชน์ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำในชุมชนได้มาก
นายวิมล จินดาพรหม อายุ 70 ปี ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ติดฝายชะลอน้ำ กล่าวว่า ตนเองรู้สึกปลื้มใจ ดีใจ ภูมิใจเป็นอย่างมาก จะได้รับ
ประโยชน์จากฝายน้ำล้นไม่ใช่เฉพาะตนเพียงคนเดียว แต่จะมีชาวบ้านอีกประมาณ 50 หลังคาเรือนที่จะได้รับประโยชน์จากฝายชะลอนั้นแห่ง
นี้ผู้ ซึ่งคลองคอกม้าก่อนหน้านี้เมื่อมีฝนตกน้ำป่าไหลหลากผ่านหายไปอย่างรวดเร็วไม่มีน้ำกักเก็บไว้ใช้ยากแล้งเลย หลังจากนี้คาดว่าคงจะมี
น้ำไว้ทำการเกษตรกันมากขึ้น
ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ผลักดันให้เกิดฝายชะลอน้ำแห่งนี้ขึ้นเพื่อชาวชุมชนเกษตรกร
............................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น