ใช้เคมีจนเจอวิกฤติดินเสื่อม ต้นทุเรียนเป็นโรค ยืนต้นตาย สุดท้ายกลับมาใช้อินทรีย์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ใช้เคมีจนเจอวิกฤติดินเสื่อม ต้นทุเรียนเป็นโรค
ยืนต้นตาย สุดท้ายกลับมาใช้อินทรีย์ เดินตามรอยพ่อในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมประยุกต์โคกหนองนา ของรัชกาลที่ 10
จนพลิกฟื้นดินกลับมาอุดมสบูรณ์
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 นางรุ่งนภา ภู่สาร สมาชิกสภา อบต.วิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร พร้อมผู้สื่อข่าว ลงพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านเขาชันโต๊ะ อ.เมือง จ.ชุมพร หลังทราบว่า มีชาวบ้านในพื้นที่ ประสบความสำเร็จในการพลิกฟื้นผืนดินที่เคย
เสื่อมโทรม ในสวนทุเรียน
เนื่องจากใช้สารเคมีเป็นเวลานาน ต้นทุเรียนกว่า 10 ไร่ ยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก
และได้เปลี่ยนแนวคิดกลับหันมาใช้การเกษตรแบบอินทรีย์
และยังดำรงตนใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียงเดินตามรอยพ่อ จึงเดินทางไปตรวจสอบ
โดยชาวบ้านคนดังกล่าว ทราบชื่อคือ นางรำเพชร แสงมณี อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 5/2 หมู่ 9 ตำบลวิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร กำลังใช้จอบขุดคลองดินในรูปแบบของคลองไส้ไก่ ซึ่งมีความลึกเพียง 20 ซม.กว้าง 20 ซม.เป็นแนววก
วนไปตามต้นไม้หลากหลายชนิด มีทั้งต้นที่เพิ่งขึ้นมาปลูกใหม่
และต้นที่กำลังผลิใบเขียวชอุ่ม มีทั้งต้นที่กำลังออกดอก ออกผล
คาดอายุไม่ต่ำกว่ากว่า 4 ปี บนพื้นที่ จำนวน 14 ไร่
จากการสอบถามถึงที่มาที่ไป นางรำเพชร เจ้าของของสวน ได้เปิดเผยว่า สาเหตุที่ตนเองนำแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 10 เรื่องการขุดคลองไส้ไก่มาใช้ในสวนนั้น เนื่องจากที่ผ่านมานั้นตนเองประสบปัญหาของการซ่อมแซมระบบ
น้ำ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำ หัวสปริงเกอร์ และที่สำคัญค่าไฟที่เกิดจากการเปิดน้ำรดต้นไม้วันละ 5 ชั่วโมง ตนเองจึงอยากจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งคลองไส้ไก่นั้นเป็นการขุดร่องน้ำในที่ดิน เพื่อกักเก็บนํ้าและกระจายความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ
พื้นที่เพาะปลูกเปรียบเสมือนลำธารที่มีความคดเคี้ยว มีการไหลตกกระทบ น้ำที่ไหลผ่านจะซึมลงสู่พื้นดินทำให้เกิดความชุ่มชื้นนอกจากนี้ให้ขุดหลุมเล็ก ๆ เพื่อให้น้ำที่ไหลมาตกในหลุม เป็นการชะลอน้ำที่ไหลผ่านไม่ให้ไหลแรงเกินไป รวมถึงการทำฝายเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อชะลอน้ำ ทำให้น้ำซึมลงใต้ดินได้มากที่สุด
โดยนางรำเพชร กล่าวว่าการขุดคลองไส้ไก่นั้น ตนเองจะสูบน้ำขึ้นมาจากสระและปล่อยลงมาในคลองไส้ไก่ที่ขุดเองจากปกติที่รดน้ำด้วยระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ 5 ชั่วโมงนั้น ปัจจุบันเปิดน้ำเพียง 2 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำเต็มในคลองไส้ไก่
และน้ำในคลองไส้ไก่ก็จะซึมไปตามต้นไม้ในระยะฝั่งละ
3 เมตร แต่จริงๆแล้วนั้นต้นไม้เมื่อน้ำอยู่ตรงไหน
เขาก็จะพยายามที่จะไปกินน้ำเอง
การทำเช่นนี้ก็จะทำให้ต้นไม้ในสวนได้ดูดซึมน้ำทั่วทั้งสวน
ในสวนเกิดความร่มรื่นเย็นสบายจากสายน้ำในคลองไส้ไก่และที่สำคัญลดต้นทุนลดค่าใช้จ่ายได้มาก
นางรำเพชร กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะเป็นสวนแบบผสมผสานอย่างที่เห็นอยู่นี้ ตอนแรกก็ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการปลูกทุเรียน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ต้นทุเรียนยืนต้นตาย เป็นโรค ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร เพราะค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ยค่ายาที่ต้องใช้ในการดูแลต้นทุเรียนก็ค่อนข้างสูง ตนเองจึงตัดสินใจนำดินไปตรวจเพื่ออยากรู้ว่าที่ต้นทุเรียนตายเป็นโรคนั้นสาเหตุมาจากอะไร เมื่อนำดินไปตรวจพบว่า ค่าของดินเป็นกรดสูงมาก ถึง 4.0 ในดินไม่มีแร่ธาตุไม่มีสาร
อาหาร เพราะที่ผ่านมาเราใช้สารเคมีมาโดยตลอด
จึงกลับมาคิดว่าเราต้องเปลี่ยนแล้วมันเกิดวิกฤต
เราก็คิดถึงตอนที่เราใช้ชีวิตแบบเด็กๆอยู่กับพ่อกับแม่ ใช้ชีวิตแบบไม่ต้องใช้สารเคมีปุ๋ยเคมี เพราะในสมัยก่อน ไม่มียาฉีดหญ้าไม่มีปุ๋ยเคมี
แล้วทำไมเราต้องเอาพวกสารเคมีเข้ามาใช้กับดิน พืช
ตนเองจึงตัดสินใจเปลี่ยนแนวคิดทันที
แต่ตอนที่เปลี่ยนก็ไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆ
เพราะแฟนก็มีไม่เข้าใจเพราะเขายังติดสารเคมี เพราะสารเคมีฉีดปุ๊บตายปั๊บ หนอน หญ้า
ก็เหมือนกัน ฉีดยาฆ่าหญ้า ฉีดก็ตายเลย แต่ถ้าตัดหญ้าเดี๋ยวไม่กี่วันก็ขึ้น
“แต่ตนเองก็พยายามเปลี่ยน และก็เปลี่ยนมาได้ถึง 5
ปีแล้ว ซึ่งปีที่แล้วทุเรียนออกมาเป็นหนอนมีหนอน 2-3
ลูกแล้วก็ทรงสวยไม่ได้โยงไม่ได้เต้าลูก มันก็อยู่ได้ตามธรรมชาติ แต่เราต้องเพิ่มเติมธาตุอาหารในดิน
โดยใช้ขี้ไก่ ขี้วัว แล้วก็เอามาทำปุ๋ยหมักเพิ่มให้กับต้นไม้แค่นั้นเอง
ตอนนี้ทุกอย่างในสวนจากเมื่อก่อนทุเรียนจะต้องฉีดยาตอนนี้ปล่อยตามธรรมชาติ ใบก็สวย
ไม่เป็นโรค ในสวนก็ปลูก พริก ขา ขมิ้น
ตะไคร้ ผักเหลียง ใบผักกูดอะไรที่ต้องกิน ก็จะปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก”นางรำเพชร กล่าว
นางรำเพชร กล่าวต่ออีกว่า จากการเปลี่ยนแปลงในวันนั้น
สิ่งที่เราได้รับและเห็นผลคือ สุขภาพจิตดีตื่นตอนเช้า
เราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเช้านี้เราก็ต้องไปเดินดูต้นทุเรียนว่ามันเป็นแผลเป็นโรคเป็นแมง
ต้องไปซื้อยาทุเรียนมาฉีดทุเรียนแต่ทุกวันนี้แค่เดินไปดูว่าต้นไม้เจริญเติบโตแค่ไหน
ต้องปลูกอะไรเพิ่มหรือเปล่า แล้วก็เดินไปเก็บไข่เป็ดเล็กๆน้อยๆไว้กินบ้าง
เหลือก็ขายบ้าง ในทุกๆวันที่ตื่นมาก็ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์จากต้นไม้
และต้นไผ่ที่ปลูกรอบๆ
นางรำเพชรกล่าวต่อว่าต้นเองได้ปลูกไม้เศรษฐกิจไว้รอบๆสวน
และในสวนของปาล์มน้ำมัน เพราะอนาคตก็อยากให้ลูกหลานที่เขามารับช่วงต่อ
ไม่ต้องมาลำบาก
อะไรก็ไม่แน่ไม่นอนสวนของเราจากที่เราทำอินทรีย์แล้วเขาจะมาใช้เคมีก็ได้
แต่เราได้สร้างความมั่นคงไว้ให้ลูกหลานโดยการปลูกไม้เศรษฐกิจไว้ ลูกหลานเราจะได้ไม่ลำบาก ไม้สามารถขายได้
และสามารถนำมาสร้างที่อยู่อาศัยได้ ที่สำคัญอยากให้คนรอบข้างได้รับอากาศที่ดีๆจากร่มเงาของต้นไม้ในสวนนี้ไปบ้าง
นางรำเพชร กล่าวทั้งน้ำตาอีกว่า แนวคิดของรัชกาลที่ 9 ได้ให้อะไรหลายๆอย่างไว้มานัก แต่หลายคนคิดไม่ได้ แต่ตนเองคิดได้ว่าเมื่อ 5 ปี่ที่แล้วนั้น ชีวิตตนเองถึงทางตันแทบจะไปไม่ได้แล้ว แต่เราคิดได้ว่าในหลวงได้ให้สิ่งดีๆเราไว้ ทำไม่ถึงไม่เดินตามรอยท่าน และคิดว่าถ้าชีวิตตนเองถ้าไม่เดินตามรอยพระองค์ท่าน ชีวิตเราอยู่ไม่ได้ เลยคิดเปลี่ยนทุกอย่าง
ตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้ และอยากให้ทุกคนคิดถึงพระองค์ท่าน
อย่าทำลายธรรมชาติ อย่าทำลายโลก เพราะมันจะกลับมาทำลายตัวเราเอง ที่สำคัญเงินไม่ใช่ตัวตั้งของชีวิต
แต่มันคืออาหารและสุขภาพและจิตใจของพวกเรา อยากให้ทุกคนคิดถึงพระองค์ท่าน
ไม่ใช่บอกว่ารักในหลวงรักพระองค์ท่านแต่ไม่เคยทำตามพระองค์ท่านเลย
.................................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น