อาสากู้ภัยคาใจหญิงปริศนาโผล่ร่ำให้พอรู้ว่าผู้ตายไม่ใช่คนขับเก๋งBMWฉิ่งหาย

รูปภาพ
        จากกรณี นางสาวจิรันธนิน อายุ 30 ปี ขับรถเก๋งสีดำ ยี่ห้อ BMW หมายเลขทะเบียน กจ 44 นครศรีธรรมราช ด้วยความเร็ว 207 กม./ชม.พุ่งชนท้ายรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า สีดำ รุ่นเวฟ 110 ไอ หมายเลขทะเบียน 1 กณ 9257 ชุมพร มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ เป็นนักเรียนชายชั้น ม. 4 กับนักเรียนหญิงชั้น 2. โรงเรียนดังในเมืองชุมพร ตายพร้อมกับแม่รวม 3 ศพ  ขณะแม่ขับไปรับกลังจากเรียนพิเศษ ส่วนสาวที่เป็นคนขับรถ BMW ได้ขอให้ชาวบ้านละแวกเกิดเหตุช่วยหาแมวสายพันธุ์ต่างประเทศจนเจอ แล้วทิ้งรถเก๋งคันหรูอุ้มพาแมวหลบหนีหายไปกับความมืด เหตุเกิดเชิงสะพานถนนสาย จ. หมู่ 9 ต.ตากแดด อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อค่ำวันที่ 27 พ.ย. 67 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศตลอดระยะเวลาหลายวันที่ผ่านมาและมีความเคลือบแคลงสงสัยหลายประเด็นของคดีดังกล่าวด้วย        ความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 67 ฟังอีกมุมจากกู้ภัยสาวที่มีข้อสงสัยกับพฤติกรรมของหญิงสาวปริศนาเข้ามาร่ำให้ต่อหน้าร่างผู้เสียชีวิตแต่พอรู้ภายหลังว่าผู้เสียชีวิตไม่ใช่คนขับเก๋ง BMW กับกับอึ้งพร้อมกับหายตัวไป       โดยอาสากู้ภัยสาวรายนี้เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าช่วยเหลือทำ CP

สะพานท่าเทียมเรือพังเสียหาย ไม่สามารถนำเรือเข้าเทียมท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ ชาวประมงจึงได้ช่วยกันทำถนนถมลงชายหาด

 

สะพานท่าเทียมเรือพังเสียหาย ไม่สามารถนำเรือเข้าเทียมท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ ชาวประมงจึงได้ช่วยกันทำถนนถมลงชายหาดเพื่อแก้ไขปัญไขปัญหาความเดือดร้อน เจอชาวบ้านอีกกลุ่มไม่พอใจทำลายชายหาดแจ้งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบ แต่ในที่สุดลงเอ่ยด้วยดี

          เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 3 กรกฎาคม 66 นายจิรยุทธ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 (ปะทิว ชุมพร) พร้อมด้วย นายจักรพงษ์ อดทน ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จ.ชุมพรน.ท.สุรพงศ์ ยอดเจริญ

สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี

 ศรชล.จ.ชุมพร ร.อ.กอบศักดิ์ นาคหาญ หัวหน้า ชรต.403 (ชพ)รอง.สว.(ป) กก.5.บก. ปทส. นายทรงสิทธิ์ พุ่มศรี นายก อบต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร และกำลังเจ้าหน้าที่ ร่วมลงตรวจสอบเรื่องร้องเรียนตามที่ได้รับแจ้งจากผู้ไม่ประสงค์

ออกนาม ว่าบริเวณหาดถ้ำธง หมู่ที่ 3 ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร มีการกระทำที่เสี่ยงกระทบทรัพยากรทางทะเลและขายฝั่ง มีการถมดินทำถนนบริเวณชายหาด , มีการทำบ่อหมักแมงกะพรุน และ มีการทิ้งกระสอบปุ๋ยบริเวณชายหาด

สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์

            จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบร่องรอยการนำดินลูกรังมาทำถนนบริเวณชายหาด กว้าง 4 เมตร ยาว 25 เมตร โดยถนนที่ถมคู่ขนาดไปกับสะพานท่าเทียบเรือประมงจริง จากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่แจ้งว่า บริเวณที่นำลูกรังมา

ถมทำถนนนี้ ชาวบ้านได้ร่วมกันทำเพื่อใช้ขนถ่ายสัตว์น้ำ เนื่องจากสะพานปลาชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อถึงฤดูมรสุมคลื่นในทะเลจะพัดดินที่นำมาถมถนนไป

            นอกจากนี้บริเวณชายหาดยังพบบ่อหมักแมงกะพรุน จำนวน 6 บ่อ ตั้งระเกะระกะอยู่ตามชายหาด และโดยรอบของบ่อหมักแมงกะพรุน มีถุงปุ๋ยภายในบรรจุทราย จำนวนมากวางกระจัดกระจายดูรกสายตา  ต่อมาได้มีนางถนอมศรี ชาวหมู่ที่ 3 ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง และ นางมารียำ ชาวหมู่ที่ 3 ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ได้เดินทางมาแสดงตัวต่อคณะเจ้าหน้าที่

สนับสนุนโดย เพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์

            จากการตรวจสอบทางเจ้าหน้าที่ได้ร่วมประชุมหารือปัญหาที่พบเจอในครั้งนี้ ต่างลงความเห็นว่าโดยสรุป 3 ประเด็น คือ 1.กรณีที่มีการถมดิน หากจะดำเนินการทำถนนในครั้งต่อไป เห็นควรให้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง ยื่นเรื่องขออนุญาต จากกรมเจ้าท่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวประมงในพื้นที่

2.ประเด็นบ่อหมักแมงกะพรุน นั้น แจ้งว่าจะทำการรื้อบ่อหมัก ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 หากไม่ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างชั่วคราวตามวันที่กำหนด จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และสำหรับการที่จะมารับซื้อแมงกระพรุนครั้งต่อไป เห็นควรให้ประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง เพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำบ่อหมักแมงกะพรุนต่อไป และ กระสอบบรรจุทราย มอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนตำบลปากคลองดำเนินการจัดเก็บอุปกรณ์ที่ทิ้งไว้บริเวณชายหาด และกำชับให้ผู้ประกอบการดำเนินการเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างออกจากชายหาด

            ด้านนางเรณู  อายุ 61 ปี ชาวหมู่ที่ 3 ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร และ น.ส.กานดา-วสี   อายุ 28 ปี ชาวหมู่ที่ 3 ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เปิดเผยว่า การที่มีชาวบ้านบางรายที่แจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบนั้น หากมองอีกด้าน ก็ถือว่า เพราะจะได้รู้ถึงความเดือดร้อนของชาวประมง ที่ต้องขนถ่ายสัตว์น้ำลงจากเรือ นำขึ้นไปบนฝั่ง นั้นลำบากเพียงไหน หลังจากที่สะพานท่าเทียบเรือแห่งนี้พังเสียหายมานานเกือบ 10 ปี ชาวประมงก็ต้องช่วยกันสมทบเงินจ้างรถดั๊มบรรทุกดินมาทำถนนเพื่อแก้ไขความเดือดร้อน ซึ่งก็จะถมดินแบบนี้ทุกปี  เนื่องจากไม่รู้ว่าจะได้สะพานใหม่เมื่อไหร่

            ส่วน นายจิรยุทธ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 (ปะทิว ชุมพร) กล่าวว่า จากการลงตรวจสอบ ยอมรับ เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจกลุ่มชาวประมง ที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากันเอง ซึ่งในที่ประชุมหารือ ก็สามารถหาทางออกได้อย่างนิ่มนวล แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก และก็ถือว่าเอาปัญหาวันนี้ ไปแก้ไขให้ดีขึ้นในวันหน้าหากจะดำเนินการอะไรก็ต้องขอให้ถูกต้องและจัดให้เป็นกิจลักษณะไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติร่วมถึงสังคมชุมชนด้วย

            ในขณะที่ นายทรงสิทธิ์ พุ่มศรี นายก อบต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร กล่าวว่า ตนเองไม่ได้นิ่งนอนใจ หลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งนายก อบต.ปากคลอง ก็พยายามทำเรื่องขอสะพานท่าเทียบเรือให้กับชาวประมงอยู่ตลอด แต่ไม่รู้ว่า

เป็นเพราะด้วยสาเหตุใด เรื่องหายไปทุกครั้ง แม้บางครั้ง จะมีเจ้าหน้าที่ของเจ้าท่าและของกรมประมง มาดูและพูดคุยกันสอบถามถึงความเดือดร้อน ความต้องการ ความจำเป็น เมื่อกลับไปก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเหมือนเดิม ทั้งที่ชุมชนตรงนี้ยึด

อาชีพทำประมงเกือบ 100%และมีเรือทั้งขนาดใหญ่ กลางไปถึงเล็ก เกือบ 100 ลำ สะพานปลาแห่งนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก จึงอยากวอนให้ภาครัฐช่วยเห็นใจในความเดือดร้อนของชาวประมงบ้านปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร ด้วย

.................................................................................


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เก๋งบีเอ็มชนจยย.3แม่ลูกร่างลอยคนละทางกู้ภัยสุดยื้อเสียชีวิตทั้งหมด หญิงคนขับเก๋งอุ้มแมวหายตัวไป

หญิงเจ้าของรถบีเอ็มฯดอดเข้าพบตร.แล้ว

ญาติร่ำให้หนุ่มออกทอดแหจับกุ้งพลัดเรือจมหายค้นหาข้ามคืนพบเป็นศพ