สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร ณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

รูปภาพ
  สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร ณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วันที่ 19 ก.ย.67.ที่ บริเวณหน้าศาลพ่อตาหินช้าง หมู่ที่  2 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร   นายสิทธิชัย ชูจีน สาธารณสุขอำเภอท่าแซะเป็นประธานจัดกิจกรรมจิตอาสารณรงค์                 สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีนายชัยยุทธ ไชโย ผู้อำนวยการ รพ.สต.สลุย เป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับ ฝ่ายปกครองท้องถิ่น ปกครองท้องที่ ทหารตำรวจ  กองอาสารักษาดินแดน(อส.) สังกัด กองร้อยอาสารักษาดินแดน จังหวัดชุมพรที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุข สนับสนุนโดย ร้านเค.เอส.รุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์  จิตอาสา บริษัท cpi และเด็กนักเรียน โรงเรียนต่างๆ เข้าร่วม กิจกรรมจำนวนประมาณ 400 คน สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ  กล่าวว่า เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก การเตรียมรับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก ในช่วงฤดูฝน และให้มีการทำงางานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้           สนับสนุนโดย เพิ่มพููลคาร์เซ็นเตอร์ ประชาชนในช

ชูป้ายคัดค้าน! หลังสนข.รับฟังเสียงปชช.ครั้งแรกเดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่วที่หลังสวน

 

ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน(โครงการแลนด์บริดจ์)

สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี

        เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องอวยชัยแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวยชัยแกรนด์ อ.หลังสวน จ.ชุมพร นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายละเอียดโครงการ และการประเมินทางเลือกโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

               ดร.จิรโรจน์ ศุกลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค ผู้แทน สนข. ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ ดังนี้ จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้านจึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งดังกล่าว  เพื่อนำมา

สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์

พัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน อันเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งยังรองรับและส่งเสริมโครงการพัฒนา


ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดยุทธศาสตร์ของไทยที่เชื่อมมหาสมุทรแปรซิฟิกเข้ากับมหาสมุทรอินเดีย (Landbridge) ดังกล่าว เพื่อทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิต การคมนาคมขนส่งของเอเชีย

สนับสนุนโดยเพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์.

               กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรให้มีการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่ง เป็น


โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ท่าเรือ ถนน และรถไฟเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยท่าเรือประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือ ท่าเรือฝั่งชุมพร ซึ่งมีพื้นที่โครงการตั้งเชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก (ฝั่งตะวันออกของไทย) และท่าเรือฝั่งระนอง เชื่อมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (ฝั่งตะวันตกของไทย) ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนาสร้างท่าเรือให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย โดยนำระบบออโตเมชั่นมาใช้ เพื่อยกระดับท่าเรือสู่ Smart Port

สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี

             ทั้งนี้ โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เข้าข่ายประเภทโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ


ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562

สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์

            สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ในวันนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อห่วงกังวลของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อร่างขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การประเมินทางเลือกของโครงการ ซึ่งจะนำไปพิจารณาประกอบการปรับขอบเขตการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ และครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ทั้งในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและในภาพการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกันในระหว่างที่เริ่มเปิดการรับฟังเสียงประชาชนกับโครงการฯดังกล่าวได้มีตัวแทนกลุ่มประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 9 คน รวมตัวกันบริเวณด้านหน้าเวทีที่ประชุมพร้อมชูป้ายการ



คัดค้านโดยเขียนบนแผ่นกระดาษระบุว่า “คัดค้านแลนด์บริดจ์ ทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย ยังทำลายไม่พอหรือ”   “ไม่เอาแลนด์บริดจ์ ปกป้องลุ่มน้ำพะโต๊ะ ปกป้องธรรมชาติ ปกป้องที่ทำกิน” เป็นต้น  โดยยื่นหนังสือให้กับ ดร.จิรโรจน์  ศุกลรัตน์  ผอ.สำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและการจราจรในภูมิภาค ผู้แทน สนข.

สนับสนุนโดยเพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์.

      นายสมโชค  จุงจาตุรันต์  อายุ 41 ปี ชาวอำเภอพะโต๊ะ เป็นตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเป็นผู้ส่งมอบหนังสือคัดค้านโครงการฯ กล่าวว่า “ชาวอำเภอพะโต๊ะและอำเภอใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากโครงการแลนด์บริดจ์จากหลายสาเหตุด้วยบ้านเมืองเราเป็นเกษตรกรอาชีพทำสวนผลไม้ ประกอบกับข้อมูลทางภาครัฐที่ส่งให้ประชาชนน้อยมาก แทบ

ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง อำเภอพะโต๊ะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจากการศึกษาสำรวจผลกระทบจากหลายโครงการที่ล้มเลิกไปอย่างเช่นโครงการแลนด์บริดจ์อาจจะมีอุตสาหกรรมหนักที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก เชื่อว่าน้ำจากอำเภอพะโต๊ะจะถูกผันให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขตหลังสวน ถามว่าภาครัฐจะเอาน้ำที่ไหนมาใช้และจากการศึกษา พ.ร.บ.น้ำที่เพิ่งบังคับใช้ซึ่งเป็นของรัฐ ประชาชนจะถูกปิดปากไม่สามารถกล่าวอ้างอะไรได้ สรุปตายสนิทประชาชนไม่รู้จะเอาอะไรไปต่อสู้

        นายสมโชค  กล่าวอีกว่า ถ้าโครงการแลด์บริดจ์เกิดขึ้นจริงกฎหมายทั่วไปใช้ไม่ได้ ต้องเป็นกฎหมาย พ.ร.บ.แลนด์บริดจ์ ละเมิดสิทธิ์ประชาชนอย่างรุนแรงแต่ถูกกฎหมาย  ถามว่าภาคประชาชนจะไปร้องเรียนที่ไหน วันนี้คาดหวังว่ายื่น

หนังสือให้ สนข.เล็งเห็นความสำคัญคนอำเภอพะโต๊ะหรือใกล้เคียงที่ดีรับผลกระทบ ระบบการขนส่งจากอ่าวไทย-อันดามัน ใช้เวลาเพียงเท่านั้นเท่านี้ทุกอย่างใช้คำสมมุติฐานคาดว่าจะมีเรือมาใช้ แต่ถ้าเรือไม่มาเงินกู้กว่า 1 ล้านล้าน ใครรับผิดชอบซึ่งเป็นภาษีประชาชนผูกพันถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

          นายสมโชค ยังยกตัวอย่างสิงคโปร์ว่าไม่มียางพาราสักต้นทำไมสิงคโปร์เป็นตลาดกลางยางพารา สิงคโปร์ไม่มีน้ำมันมากมายเหมือนไทย แต่ทำไมใช้เป็นประเทศเปรียบเทียบน้ำมันทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ผู้นำ ทั้งนี้นายสมโชคเปิดเผยว่า

โครงการแลนด์บริดจ์เปรียบเสมือนตอหม้อหรือเสาหลักของโครงการอุตสาหกรรมขนาดเล็กใหญ่จะตามมาก่อสร้าง ซึ่งจะเกิดปัญหาหลักคือเรื่องการเกษตรกรถูกแย่งน้ำไปใช้ในภาคอุตสากรรมหนักและเบาซึ่งเป็นเรื่องน่าวิตกในระยะยาว” โดยกลุ่มตัวแทนชาวบ้านให้เหตุผลในปัญหาบางส่วนเท่านั้นการออกมาคัดค้านครั้งนี้

..................................................................................


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชาวบ้านสุดทนสามผัวเมียมั่วสุมเสพยาแจ้งตำรวจช่วยเด็ก 2 คน

เหิมไม่เกรงกลัวกม.ผญบ.เตือนไม่ฟังรุกป่าต้นน้ำปลูกปาล์ม ป่าไม้หญิงสนธิกำลังซุ่มจับคาหนังคาเขา

จ่าทหารขับเก๋งออกจากค่ายจะไปธุระเสียหลักรถตกร่องกลางถนน เหินชนฝั่งตรงข้ามเสียชีวิต