รถไฟสายใต้ชนกระบะลากไกล 1 กม.สภาพยับเป็นเศษเหล็กเสียชีวิตทั้งคัน 3 ราย

รูปภาพ
         เมื่อเวลา 10.30. น. วันที่ 17 ก.ย. 67 พ.ต.ต ชินวงศ์ อินทร์ทอง สว.(สอบสวน)สภ.ละแม  จ.ชุมพร ได้รับแจ้งว่าเกิด เหตุ  รถไฟชนรถยนต์กระบะบริเวณถนนทางตัดข้ามทางรถไฟบ้านหัวมาด ม. 5 ตำบลทุ่งหลวง อ.ละแม จ.ชุมพร เบื้อง สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี ต้นทราบว่ามีผู้เสียชีวิตหลายราย จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบพร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ  กู้ภัยมูลนิธิเพชรเกษมชุมพรเขตละแม เร่งตรวจสอบ       ที่เกิดเหตุพบร่างผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย ทราบชื่อภายหลังคือ 1. นางสาวชัฎชฎาภา  เจริญจริง  อายุ 44 ปี   2. นาง สนับสนุนโดย ร้านเค.เอส.รุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์ สายใจ ทวีศิลป์อายุ 51 ปี  และ 3. นายประเจิด ทวีศิลป์ อายุ 57 ปี  กระเด็นออกจากตัวรถห่างจากจุดทางตัดรถไฟประมาณ 100-200 เมตร หน่วยกู้ภัยฯและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าชันสูตรพลิกศพอย่างละเอียดก่อนให้กู้ภัยลำเลียงร่างผู้เสียชีวิตทั้งหมดส่งชันสูตรโรงพยาบาลละแมอย่างละเอียดอีกครั้ง  สนับสนุนโดย เพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์       ห่างจากจุดพบศพผู้เสียชีวิตประมาณ 1 กม. พบรถยนต์กระบะมิตซูบิชิ ตอนครึ่ง สีขาว ทะเบียน บล 5779 ชุมพร  สภาพถูกรถไฟชนยับเสียหายเป็นเศษเหล็กทั้งค

สภาเกษตรกรจังหวัด ยื่นหนังสือ รมช.เกษตรฯ

 

สภาเกษตรกรจังหวัด ยื่นหนังสือ รมช.เกษตรฯ จอรับการช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้ง และ ราคาหมูตกต่ำ 

วันที่ 21 ก.ย.66 นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นางกัญชาดา ยังสุข นายบรรเลง ศรีสวัสดิ์ นายเจริญ อาจประดิษฐ์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ได้เข้าพบ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ช่วยเหลือแก้ปัญหาภัยแล้งจังหวัดชุมพร และราคาสุกรที่ตกต่ำ 
สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี

โดยหนังสือระบุว่า ขอส่งแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดชุมพร ด้วยจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ทั้งหมด 3.75 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 2.56 ล้านไร่ เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่มีชื่อเสียงของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเป็นศูนย์กลางการตลาดทุเรียนของภาคใต้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชุมพร ในปี 2565 มีมูลค่า 131,433 ล้านบาท มีการผลิตภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะการผลิตทุเรียน ปาล์มน้ำมัน และยางพารา มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว เท่ากับ 262,703 บาท ต่อคนต่อปี 

แต่ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาจังหวัดชุมพร ประสบปัญหาภัยแล้งขั้นวิกฤตหลังฝนทิ้งช่วงนาน น้ำในลำคลองแห้งขอด แม้แต่ในสระน้ำของเกษตรกรก็ไม่มีเหลือ จนถึงขณะเป็นวงกว้าง พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมากมากกว่า 100 ล้านบาท พื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2566 จำนวน 261,296  ไร่ คาดว่าจะมีความเสียหาย จำนวน 59,833 ไร่
สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์

สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ในฐานะเป็นตัวแทนเกษตรกร ได้รับการร้องขอจากพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยประสานมายังกระทรวงเกษตรฯ ในเรื่องนี้โดยด่วน สมาชิกสภาเกษตรกรทั้ง 8 อำเภอ ได้สรุปแนวทางตามข้อเสนอของพี่น้องเกษตรกรได้ 5 แนวทาง 1.ขอให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำจังหวัดชุมพร เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง2. ขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำระยะไกลเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ภายในจังหวัดชุมพร 3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในการขุดเจาะบาดาลพร้อมระบบท่อ 4.ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคชุมพร
สนับสนุนโดย เพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์

 ขยายเขตไฟฟ้าเกี่ยวกับการเกษตรให้เป็นสามเฟสทั้งหมดครอบคลุมทั้งจังหวัดชุมพร และ 5.ให้กรมชลประทานสำรวจศึกษาการทำประตูเปิด ปิดกั้นน้ำเค็มเพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำเค็มในทุกๆพื้นที่ของจังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังขอให้พิจารณาความช่วยเหลือในเรื่องของราคา สุกรที่มีราคาตกต่ำลงถึงกิโลกรัมละ 60 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ได้มีมติเห็นชอบควรนำเสนอท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของเกษตรชาวจังหวัด
ชุมพรต่อไป
 
โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้รับหนังสือ พร้อมทั้งนำเข้าคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชุมพร ต่อไป




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชาวบ้านสุดทนสามผัวเมียมั่วสุมเสพยาแจ้งตำรวจช่วยเด็ก 2 คน

เหิมไม่เกรงกลัวกม.ผญบ.เตือนไม่ฟังรุกป่าต้นน้ำปลูกปาล์ม ป่าไม้หญิงสนธิกำลังซุ่มจับคาหนังคาเขา

จ่าทหารขับเก๋งออกจากค่ายจะไปธุระเสียหลักรถตกร่องกลางถนน เหินชนฝั่งตรงข้ามเสียชีวิต