ผู้ว่าฯ ชุมพรลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัย "พายุงวงช้าง" พัดบ้านเรือนเสียหายกว่า 13 หลัง
วันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา เมื่อเวลา 17.30 น. นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วยคณะหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอเมืองชุมพร สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร
ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดชุมพร ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ หมู่ 1 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร เพื่อตรวจเยี่ยม
สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี
และให้กำลังใจชาวบ้านผู้ประสบภัยจากปรากฏการณ์ "พายุงวงช้าง" ที่ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลเสียหายกว่า 13 หลังคาเรือน พร้อมทั้งทรัพย์สินและรถยนต์
เบื้องต้น จังหวัดชุมพร เหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร ได้มอบเครื่องอุปโภค บริโภค พร้อมเงินสดจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นการให้กำลังใจและช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับการเดือดร้อนในเบื้องต้น
นายสุนนท์ ทองประดิษฐ์ ชาวบ้านในพื้นที่ ม.1 ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร เปิดเผยว่า
สนับสนุนโดย ร้านเค.เอส.รุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์
เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พ.ย.66 ที่ผ่านมา เวลา ประมาณ 11.40 น. "พายุงวงช้าง" ได้ก่อตัวขึ้นและสร้างความเสียหายแก่
บ้านเรือนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งบ้านตนเองก็ถูกพายุพัดหลังคาไป 60 กว่าแผ่น อีกทั้งโรงแพทำปลาหมึกตากแห้งก็โดนเล่นงานพังเสียหายเช่นกัน
สำหรับ พายุงวงช้าง (water spout) เกิดจากการที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยอากาศบริเวณใกล้ ๆ ผิวน้ำ มี
ความชื้นสูง และมีลมอ่อน ทำให้อากาศที่ผิวน้ำไหลขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้อากาศที่อยู่โดยรอบซึ่งเย็นกว่า ไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเกิดการบิดเป็นเกลียวพวย
พุ่งขึ้นบนท้องฟ้า และมักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองร่วมอยู่ด้วย โดยลักษณะการเกิด "พายุงวงช้าง" จะคล้ายกับ "พายุทอร์นาโด" แต่จะมีความแตกต่างที่พายุทอร์นาโด มักเกิดขึ้นเหนือ
สนับสนุนโดย เพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์
พื้นดินที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนพายุงวงช้าง ที่เกิดเหนือพื้นน้ำ ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุทอร์นาโดมาก มักเกิดบ่อย ๆ บนพื้นน้ำในเขตโซนร้อน อย่างในประเทศไทย ขณะที่ช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นี้กินเวลาไม่นานนัก
ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้รับผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัด
ชุมพรเกิดสถานการณ์ฝนตกหนัก 2 ช่วงด้วยกัน รอบแรกช่วงวันที่ 17-19 พ.ย. และมาโดนซ้ำอีกรอบในวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่โซนใต้ อำเภอทุ่งตะโก พะโต๊ะ หลังสวน และละแม พื้นที่ประสบอุทกภัย เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 66 รวมจำนวน 17 ตำบล 156 หมู่บ้าน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันฝนได้หยุดตกลงมาแล้ว
แต่ยังมีพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยเฉพาะ ต.พ้อแดง อ.หลังสวน ที่บางครัวเรือนน้ำท่วมขังภายในบ้านมากว่า 3 วันแล้ว ซึ่งทาง ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้ลงพื้นที่ให้กำลังพี่น้องประชาชน และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น