อาสากู้ภัยคาใจหญิงปริศนาโผล่ร่ำให้พอรู้ว่าผู้ตายไม่ใช่คนขับเก๋งBMWฉิ่งหาย

รูปภาพ
        จากกรณี นางสาวจิรันธนิน อายุ 30 ปี ขับรถเก๋งสีดำ ยี่ห้อ BMW หมายเลขทะเบียน กจ 44 นครศรีธรรมราช ด้วยความเร็ว 207 กม./ชม.พุ่งชนท้ายรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า สีดำ รุ่นเวฟ 110 ไอ หมายเลขทะเบียน 1 กณ 9257 ชุมพร มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ เป็นนักเรียนชายชั้น ม. 4 กับนักเรียนหญิงชั้น 2. โรงเรียนดังในเมืองชุมพร ตายพร้อมกับแม่รวม 3 ศพ  ขณะแม่ขับไปรับกลังจากเรียนพิเศษ ส่วนสาวที่เป็นคนขับรถ BMW ได้ขอให้ชาวบ้านละแวกเกิดเหตุช่วยหาแมวสายพันธุ์ต่างประเทศจนเจอ แล้วทิ้งรถเก๋งคันหรูอุ้มพาแมวหลบหนีหายไปกับความมืด เหตุเกิดเชิงสะพานถนนสาย จ. หมู่ 9 ต.ตากแดด อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อค่ำวันที่ 27 พ.ย. 67 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศตลอดระยะเวลาหลายวันที่ผ่านมาและมีความเคลือบแคลงสงสัยหลายประเด็นของคดีดังกล่าวด้วย        ความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 67 ฟังอีกมุมจากกู้ภัยสาวที่มีข้อสงสัยกับพฤติกรรมของหญิงสาวปริศนาเข้ามาร่ำให้ต่อหน้าร่างผู้เสียชีวิตแต่พอรู้ภายหลังว่าผู้เสียชีวิตไม่ใช่คนขับเก๋ง BMW กับกับอึ้งพร้อมกับหายตัวไป       โดยอาสากู้ภัยสาวรายนี้เป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าช่วยเหลือทำ CP

ติดป้ายต้านไม่เอาโรงโม่หิน หวั่นกระทบวิถีชีวิตและทำลายสิ่งแวดล้อม

 

            เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า มีชาวบ้านเขาวง ม.12 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ได้พร้อมใจติดตั้งป้ายต่อต้านไม่เอาโรงโม่ ตามถนนหนทางในชุมชนและถนนสายหลัก จึงเดินทางไปตรวจสอบ

            พบป้ายไวนิล ขนาด 2.4 เมตรx1.2 ม.จำนวน 5 แผ่น ติดปากทางเข้าหมู่บ้านทั้งสายท่าแซะ-สะพลี สายท่าแซะ-ปะทิว และในหมู่บ้าน ซึ่งในป้ายไวนิลมีรูปชาวบ้านจำนวนนับ 100 คน รวมถ่ายรูปหน้าศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน

สนับสนุนโดย อีซูซุสาขาสวี

 พร้อมระบุ ข้อความว่า ชาวหมู่ 12 บ้านเขาวง ไม่เอาโรงโม่หิน และมีสัญลักษณ์เป็นรูปมือสีดำอยู่ในวงกลมสีแดงคาดตัด ซึ่งมีความหมายไม่เอาหรือปฏิเสธ

            นอกจากนี้ยังพบป้ายซึ่งใช้กระดาษและวัสดุที่เหลือใช้ ขนาด 20x50 ซม.เขียนด้วยปากกาเคมี ระบุใจความต่อต้าน คัดค้าน ไม่เอาโรงโม่หิน พร้อมข้อความรณรงค์ อาทิ  “ลูกหลานเราไม่เอาโรงโม่ เราจะเอาภูเขา”  “อย่านำโงโม่หินเข้ามาในหมู่บ้านเรา” เป็นต้น

สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์

            สอบถามนายศิริวัฒน์  ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 บ้านเขาวง ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ทราบว่า เมื่อปี 2562 ตนเองได้รับหนังสือจากสำนักศิลปกร ที่ 12 จ.นครศรีธรรมราช ว่าจะเข้ามาสำรวจพื้นที่บริเวณภูเขาสันกำแพง ซึ่งเป็นภูเขาหินที่อยู่ระหว่าง ม.12 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร กับ ม.4 ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งครั้งนั้นตนรู้และคิดเพียงว่าจะ

มาสำรวจเกี่ยวกับวัตถุโบราณ ก็เพียงรับรู้ หลังจากนั้นทางสำนักศิลปกร ก็เงียบหายไป จนกระทั้งมาปี 2563 ตนมารู้อีกทีว่า สำนักศิลปกร ได้ลงพื้นที่มาสำรวจแล้วพร้อมกับทางอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และมารู้ว่า ทั้งสองหน่วยงานมาสำรวจเพื่อจะออกใบประทานบัตรให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ที่ยื่นขอทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือ โรงโม่หินนั้นเอง

สนับสนุนโดยเพิ่มพูลคาร์เซ็นเตอร์.

             นายศิริวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 กล่าวว่า ตนเองจึงได้เรียกชาวบ้านมาประชุมหารือพร้อมชี้แจงให้ชาวบ้านได้ทราบว่า ขณะนี้ได้เกิดอะไรขึ้น ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อขอมติในที่ประชุมว่าทุกคนคิดเห็นอย่างไร ซึ่งปรากฏว่า ชาวบ้านทุกคนคัดค้านไม่เอาโรงโม่หิน อย่างเด็ดขาด  ตนเองก็ได้ทำหนังสือส่งไปยังสำนัก

ศิลปกรและอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร และเรื่องก็เงียบหายไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 ทางสำนักศิลปกร ที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้ส่งหนังสือมาที่ตนในนามผู้ใหญ่บ้าน โดยแจ้งเรื่องนัดหมายตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 1/2562 พร้อมแนบหนังสือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร ที่ ชพ.0034(4)/1467ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566

            โดยมีเนื้อหาระบุในหนังสือว่า “ด้วยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร แจ้งว่า เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จังหวัดชุมพร ได้รับจดทะเบียนคำขอประทานบัตรบริษัทแห่งหนึ่ง เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง จึงขออนุเคราะห์สำนักศิลปกร ที่ 12 นครศรีธรรมราช ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรดังกล่าว ซึ่งทางสำนักศิลปกร ได้อ้างอิง ว่า เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ ก็จะเข้ามาสำรวจตรวจสอบ โดยนัดหมายลงพื้นที่ในวันที่ 9-10 มกราคม 2567

            นายศิริวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 กล่าวต่อว่า หลังจากที่ตนเองได้รับหนังสือแล้ว ก็ได้แจ้งไปยังชาวบ้านผ่านไลน์หมู่บ้าน และชาวบ้านหลังจากได้รับแจ้ง ก็ได้ชวนกันมาร่วมประชุม ซึ่งครั้งนั้นมาร่วมประชุม จำนวน 187 คน และทุกคนได้ลงชื่อคัดค้านไม่เอาโรงโม่หินและไม่ยอมให้เข้ามาสำรวจตรวจสอบอย่างเด็ดขาด โดยชาวบ้านได้ให้เหตุผลว่า ที่อยู่ปัจจุบันนี้ ชาวบ้านเองได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรงโม่หิน จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบแม้จะอยู่ห่าง ในระยะ 6 กม.และ 10 กม.ก็ตามแต่พอระเบิดแต่ละครั้งสะเทือนมาถึง แล้วภูเขาสันกำแพง แห่งนี้ ที่กำลังจะลงมาสำรวจอยู่ชุมชนหนาแน่นเพียง 1 กม.หรือจะว่าระเบิดกลางหมู่บ้านก็ว่าได้

            นายศิริวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 ยังกล่าวว่า นอกจากนี้ภูเขาสันกำแพงแห่งนี้ ปัจจุบันเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มากด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่ชุมชนห่วงแหน มีทรัพยากรสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ เลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ก็ยังอาศัยอยู่ที่ภูเขาแห่งนี้ และยังเป็นป่าต้นน้ำของคลองน้ำฉา  ที่ไหลไปยังสระน้ำที่ผลิตประปาหมู่เพื่อชุมชนอีกด้วย หากอนุญาตไปแล้ววิถีชีวิตของชาวบ้าน สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ก็จะมลายหายไป ดังนั้นเมื่อมติของชาวบ้านใน

ระบอบประชาธิปไตยเสียงส่วนใหญ่ 100%ไม่ต้องการให้มีโรงโม่หินเกิดขึ้น แม้จะตั้งอยู่ใน ม.12 บ้านเขาวง ต.ท่าแซะ หรือ ม.4 ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว ก็ตาม ก็จะส่งผลกระทบวงกว้างอย่างแน่นอน จึงได้ทำหนังสือส่งไปยังสำนักศิลปกร ที่ 12 นครศรีธรรมราช และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร คัดค้านและให้ยกเลิกสัมปทานลง

          นายศิริวัฒน์ จินา ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 ยังกล่าวต่ออีกว่า ก่อนหน้านี้ทาง บริษัทได้เดินทางมาพบกับตน พร้อมขอให้ช่วยประสานชาวบ้านส่งตัวแทน จำนวน 25 คน เดินทางไปดูงานโรงโม่ ของ บริษัท ที่ดำเนินการอยู่ที่ จ.ตรัง พร้อมได้มอบเอกสารงานประชาสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับการช่วยเหลือสังคม ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ให้ชม โดยมีเอกสารฉบับสีเขียว จำนวน 2 ใบขนาด เอ4 ที่มีเนื้อหาเงื่อนไข 17 ข้อของสัญญาแนบท้ายประทานบัตร โดยแต่ละข้อ จะเป็นการมอบหรือช่วยเหลือ หรือสนับสนุนเป็นเงินให้กับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ วัด โรงเรียน ไปจนถึงกองทุนให้กับหมู่บ้าน ตั้งแต่หลักหลักล้านไปจนถึงหลักหมื่น เป็นครั้งคราว ไปจนถึงรายปี อีกด้วย

           ด้านนายถวิล   อายุ 61 ปี  กับ นางสาวจินดา อายุ 52 ปี ชาวบ้านหมู่ 12 ต.ท่าแซะ พูดสอดคล้องว่า โรงโม่หิน หากเกิดขึ้นมาได้นั้น จะมองในมุมที่ดีนั้นไม่มีเลย นอกจากจะสร้างความเสียหาย สร้างผลกระทบต่อความเป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ แม้กระทั่งพืชผักต่างๆ โรงโม่หินมีแต่สร้างมลพิษให้กับสรรพสิ่ง ดังนั้นขอพื้นที่ให้กับปอดของชาวบ้าน ได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์เข้าไป และวอนให้รัฐบาลช่วยยับหยั่งอย่าให้โรงโม่หินเข้ามาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเลย

           ในขณะที่ นายปัณณพงศ์ ชาวบ้านม.12 ต.ท่าแซะ กล่าวว่า พื้นที่บ้านเขาวง ม.12 ต.ท่าแซะ แห่งนี้ ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ในพื้นที่ 17 ตร.กม.มีปลูกยาง 20%ปาล์มน้ำมัน30%และมากสุดคือสวนทุเรียน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดชุมพร ซึ่งที่นี้ปลูกมากถึง50%เนื่องจากดินตรงนี้ เป็นดินที่ดีที่สุดของประเทศไทย และตนเองก็มีสวนทุเรียน ซึ่งรับช่วงต่อมากจากพ่อ จำนวน 14 ไร่ ทุเรียนมีอายุกว่า 30 ปี ที่ปลูกอยู่เชิงติดกับเขาสันกำแพง ทุกปีผลผลิตที่ได้ต่อต้นๆละ 400 กก.ๆละเฉลี่ย 100 บาทพอ ต้นหนึ่งก็ได้ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท แล้วทั้งสวนมี 250 ต้นก็จะได้ยอดสุทธิปีตกกว่า 10 ล้านบาท และหากโรงโม่หินเกิด ความเสียหายก็จะตามมา เพราะพืชต้องการสังเคราะห์แสงเป็นหลัก แต่เมื่อฝุ่นละอองมาจับใบก็ส่งผลเสียให้กับพืชทันที

              นายปัณณพงศ์ กล่าวว่า ตนเองเข้าใจว่า หิน มีความจำเป็น โดยเฉพาะตอนนี้มีโครงการก่อสร้างหลายๆอย่างไม่ว่า ทางรถไฟรางคู่ที่กำลังขยายต่อ โครงการแลนด์บริดจ์ที่รอจะเกิด และจำเป็นที่ต้องใช้หิน ในการก่อสร้าง แต่เมื่อการพัฒนาอยู่ในความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆเจ้าของพื้นที่ก็ต้องรักษาห่วงแหนและออกมาปกป้องทรัพยากรของชาติ แม้จะเข้ามาอีกกี่ครั้ง ชาวบ้านก็พร้อมที่จะออกมาคัดค้านต่อไป

             ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดทางสำนักศิลปกร ที่ 12 นครศรีธรรมราช และทางสำนักงานอุตสาหกรรม ได้ขอเลื่อนการเข้าสำรวจตรวจสอบแล้ว และได้พยายามเข้าเจรจากับผู้นำหมู่บ้าน โดยผ่านทางจังหวัดและอำเภอ โดยให้ช่วยออกหนังสือไปยังผู้นำหมู่บ้าน ในพื้นที่โดยรอบกับที่จะเปิดสัมปทานโรงโม่หิน ให้จัดคน จำนวน 25 คนไปดูงานที่ จ.ตรัง อีกด้วย

……………………………………………………..


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เก๋งบีเอ็มชนจยย.3แม่ลูกร่างลอยคนละทางกู้ภัยสุดยื้อเสียชีวิตทั้งหมด หญิงคนขับเก๋งอุ้มแมวหายตัวไป

หญิงเจ้าของรถบีเอ็มฯดอดเข้าพบตร.แล้ว

ญาติร่ำให้หนุ่มออกทอดแหจับกุ้งพลัดเรือจมหายค้นหาข้ามคืนพบเป็นศพ