นักเรียนวัย 18 ปีลูกแม่ค้าสุดเจ๋ง คิดค้นประดิษฐ์เครื่องกวนขนมเปียกปูน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
เมื่อวันที่ 15 ก.พ.67 ที่ห้องประชุมต้นแซะ วิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร นางสาวสุภัคกมล
ชินวงค์ ศึกษาธิการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงาน “เปิดโลกอาชีวะที่ท่าแซะ Open House” ปีการศึกษา 2566 เพื่อ
ให้นักเรียนนักศึกษา ระดับ ปวช.3 ระดับ ปวส.2 ที่จะสำเร็จการศึกษา นำผลงานโครงการที่จัดทำขึ้นมานำเสนอ
และทักษะทางวิชาชีพ
ที่เกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน
จะได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในชุมชนและท้องถิ่น
และเพื่อพัฒนาประเทศชาติต่อไป
นางบัณฑิตา ทวีเมือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพท่าแซะ กล่าวว่า งาน “เปิดโลกอาชีวะที่ท่าแซะ Open House มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษานำผลงานโครงการวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัยงานสร้างสรรค์ที่ได้จัดทำขึ้น
สนับสนุนโดยร้านเค.เอสรุ่งเรืองเกษตรภัณฑ์
ซึ่งเป็นการบูรณการความรู้ที่ได้เรียนตลอดหลักสูตรมานำเสนอต่อสารธารณชนในรูปแบบสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่
โดยจุดเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะ จบอาชีวศึกษามีงานทำ 100%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
มีสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียน นักศึกษาได้นำมาเสนอเช่น เรือนปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์
เครื่องปิ้งปลาอบเกลือใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขับเคลื่อนมอเตอร์หมุนพลิกตัวปลา เครื่องให้อาหารสัตว์
และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆอีกหลายชนิด
แต่สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้ให้ความสนใจมากเป็นพิเศษคือ
เครื่องกวนขนมเปียกปูนของนางสาว ญาติกา
เภาจี๋ (น้องบีม) อายุ 18 ปี นักศึกษาระดับปวช.3
แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สอบถามแรงจูงใจในการสร้างเครื่องกวนขนมเปียกปูนทราบว่า ตนเองได้แรงบันดาลใจมาจากผู้เป็นแม่เนื่องจากครอบครัวตนมีอาชีพทำขนมไทยขาย
จึงคิดค้นเครื่องกวนขนมเปียกปูนขึ้นมาและสามารถประยุกต์ใช้ในการทำขนมไทยชนิดอื่นๆที่ต้องใช้มือกวนได้ด้วย
ลักษณะการทำงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขับเคลื่อนมอเตอร์
คุณประโยชน์คือประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา
สามารถเอาเวลาที่ใช้กับการกวนขนมไปใช้ทำอย่างอื่นได้อีกด้วย
นางสาว ญาติกา บอกอีกว่า เครื่องกวนขนมเปียกปูนเพิ่งจะคิดค้นและประดิษฐ์สร้างขึ้นมาเป็นเครื่องแรกซึ่งอนาคตยังต่อยอดพัฒนาให้ใช้งานได้ครอบคลุมกว่านี้เครื่องแรกยังพบปัญหาเรื่องไม้พาย ต้องให้ใหญ่ขึ้นขนาดเท่า
กระทะ อีกทั้งใช้เป็นธุรกิจภายในครอบครัวและขยายเชิงพาณิชย์
หรือสามารถใช้ไฟบ้านและเคลื่อนย้ายได้สะดวก
สำหรับต้นทุนในการประดิษฐ์สร้างเครื่องแรกประมาณ 6,050 บาท
................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น