เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว หลังจากที่อากาศร้อนจัด
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายธวัชชัย ศรีสุวรรณ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 173 ม.8 ต.หงษ์เจริญ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ว่า
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 67
ที่ผ่านตนเองพร้อมเพื่อนได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่เกาะกุลา อ.สวี จ.ชุมพร
โดยใช้เรือซัพบอร์ด ซึ่งระยะทางจากฝั่งไปถึงเกาะ 5
กม.ใช้เวลาในการพายไปประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ
นายธวัชชัย กล่าวว่า ตนเองเป็นคนทำเพจท่องเที่ยวชุมพร ชื่อ “หนีไปเที่ยว” ก็จะพยายามเสาะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆมาเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร และที่เกาะกุลา แห่งนี้ ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกหนึ่งจุด
ที่ถือว่า สวยที่สุด
สามารถดูน้ำดูปะการัง ได้ทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น จึงคิดว่า จุดน้ำยังได้ถ่ายทำสักครั้งทั้งที่มาหลายครั้งแล้ว
จึงได้ชวนเพื่อนมาร่วมในกิจกรรมเพื่อถ่ายทำนำมาลงเพจ “หนีไปเที่ยว”
นายธวัชชัย กล่าวต่อว่า แต่เมื่อพายเรือมาเกือบถึงชายฝั่งของเกาะ ก็รู้สึกปะการังน้ำตื้น ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องลงไปดำดู มีลักษณะผิดแปลกใจ เนื่องจากผิวสีของปะการังต่างๆมีสีขาวเต็มเต็มเกลื่อนในกองปะการัง และ
เมื่อพายเรือเข้ามาถึงชายฝั่ง แล้วได้สอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯก็ทราบว่า
เป็นปรากฏการณ์อากาศแปรเปลี่ยน น้ำทะเลร้อน อีกทั้งช่วงนี้น้ำทะเลลดลงมาก
ทำให้ปะการังที่โผล่พ้นน้ำถูกแสงแดดที่ร้อนจัดแผดเผา
ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น เรียกว่า ปะการังฟอกขาว และขณะนี้
ปะการังฟอกขาวได้ขยายวงกว้าง มีลักษณะแบบนี้ทั่วทุกเกาะ
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มี
ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลชุมพร
ร่วมกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดินหน้ากางสแลนทำหลังคากันความร้อนป้องกันประการังฟอกขาว
พบมี 80 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ 20 ไร่
ระดับความลึก 8-9 เมตร
โดย นายมรกต โจวรรณถะ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่
1 จังหวัดชุมพร ได้เปิดเผยการสำรวจและการใช้สแลนป้องกันประการังฟอกขาว
โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการสำรวจติดตามปะการังฟอกขาว ดังรายละเอียดข้อมูล ดังนี้ (1.) พื้นที่ดำเนินการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร (2.)วันที่สำรวจล่าสุดเมื่อวันอังคาร ที่ 7 พฤษภาคม 2567 (3.)บริเวณพื้นที่ดำเนินการเกาะ
ง่ามน้อย
(4.)อุณหภูมิของน้ำทะเล พบมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 32 องศาเซลเซียส (5.)ในระดับความลึก 8-9 เมตร (6.)ร้อยละของการฟอกขาว พื้นที่แนวปะการัง จำนวน 20 ไร่ พบว่าปะการังมีการแสดงอาการการฟอกขาว 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่
โดยมีลักษณะสีซีดจางและฟอกขาวบางส่วนประมาณ
60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีเพียง 20
เปอร์เซ็นต์ที่ฟอกขาวทั้งโคโลนีของบริเวณพื้นที่เกาะง่ามน้อย
โดยในการดำเนินการประเมินในกลุ่มของปะการังที่พบที่มีการแสดงอาการ ได้แก่
ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกเห็ด
(Fungia spp.) ปะการังโขด (Porites
spp.) ปะการังดอกกะหล่ำ
(Pocillopora spp.)
จากนั้นได้ดำเนินการปฏิบัติงานการทดลองใช้อุปกรณ์สแลนลดแสง “Shading” บริเวณหมู่เกาะชุมพร (เกาะง่ามน้อย)
โดยการดำเนินการดังกล่าว ได้ดำเนินการมาแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562
โดยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่
1 จังหวัดชุมพร ยังคงต้องมีการดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป.
.................................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น