พบปลาหมอคางดำในทะเลชุมพรแล้ว กลุ่มปล่อยลูกปูลั่นไม่รีบกำจัดแย่แน่
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การตรวจสอบการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำในพื้นที่จังหวัดชุมพรยังคงทำงานต่อเนื่องก่อนที่วันพรุ่งนี้(
27 ก.ค.)จะมีการประชุมใหญ่อีกครั้งในวางแผนและแนวทางการกำจัดปลาหมอคางดำ
เพื่อรักษาระบบนิเวศและสัตว์น้ำในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
จากการประเมินสถานการณ์การเผยระบาดของปลาหมอคางดำนั้นในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพรคาดจะมีการแพร่ระบาดมากที่สุด จากการพบปลาหมอคาดดำแทบทุกลำน้ำและมีปัจจัยทางแหล่งอาหาร ทำให้บริเวณคลองอีเล็ตไม่
เหลือแม้เพียงกุ้งก้ามกรามที่ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดเป็นรายได้ของประมงพื้นบ้านของการทำประมงบริเวณดังกล่าวนั้น
ต้องจบลงอย่างเห็นได้ชัดจากไม่มีคนไปหากุ้งมานานเป็นปี
สำหรับวันนี้เป็นอีกจุดที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
พื้นคลองท่าเสม็ด ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดยวันนี้แบ่งชุดทำงานเป็น 5กลุ่มกระจายกันใน 4
พื้นที่ในคลองและ 1
เป็นพื้นที่ในทะเล
ด้านนายจิรวุฒิ
คำภิโรจน์ จนท.ชำนาญการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชุมพรเผย ตอนนี้พบว่ามีการระบาด
2 ส่วนทั้งพื้นที่ในคลองและในทะเล
โดยทางศูนย์จะนำตัวอย่างของปลาหมอคางดำที่พบในทะเลรอบนี้ไปผ่าเพื่อดูว่าจับสัตว์น้ำชนิดใดกินไปบ้าง
โดยการวิเคราะห์ในกระเพาะอาหาร รวมถึงการเก็บข้อมูลเรื่องขนาด ความยาวและน้ำหนัก
และนำไปพัฒนาในการจับและกำจัด โดยมีการพบเจอปลาหมอคางดำบ่อยขึ้นในทะเลหลังจากที่ชาวบ้านที่ออกไปประมง
ได้เจอปลาหมอคางดำติดมากับเครื่องมือที่ได้เอาออกไปวางเพื่อดักจับสัตว์
ทางด้านนางทิพยรัตน์
ทิพย์มงคล ชาวบ้านจาก ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ที่มาช่วยร่วมจับปลาหมอคางดำได้กล่าวถึงสถานการณ์ตอนนี้ในพื้นที่ ม.8 ต.บางสน ที่ตนเองนั้นอาศัย กล่าวว่า
ตนเองเคยเสนอกับทางประมงไปแล้วว่าให้จับปลาจากคลองในที่แคบไปก่อนเพราะจะจับง่ายและมีจำนวนมาก
หากทำเป็นวันนี้บอกเลยว่าจับยากเพราะคลองมันลึกและกว้าง
นางทิพยรัตน์ ยังกล่าวอีกว่าก่อนนี้ช่วงหน้าน้ำ น้ำก็จะไม่ไหลลงทะเล ปลาและสัตว์น้ำจะเข้ามาวางไข่ในคลองบางเสียบ พื้นที่ ม.8 ต.บางสน อ.ปะทิว ชุมพร มีทั้งปลากระสากปลาดอกไม้ กะพงแดง ปลากระบอกและสัตว์น้ำท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก พอน้ำป่ามาก็จะพัดเอาสัตว์น้ำเหล่านี้ลงไปบริเวณชายหาด ตนเองไปจับปลาในช่วงเช้าแต่ละครั้งได้มากกว่า 1 กระสอบแน่นอน แต่ตอนนี้ทุกอย่างในคลองแทนที่โดยปลาหมอคางดำ ปลาเล็กที่รอน้ำบริเวณหน้าปากคลอง แม้แต่
กุ้งกุลาที่เคยไปหากันตามริมคลองก็ไม่มีแล้ว
สัตว์ระบบนิเวศได้กำจัดไปหมดแล้ว หลังจากนี้อาหารทะเลก็จะหากินได้ยาก
กุ้งเคยที่นำมาทำกะปิ ปลากกระบอก ก็เช่นกันจะไม่มีแล้ว
ถ้าเกิดในคลองที่เป็นที่ฝักไข่สัตว์น้ำไม่หลงเหลือแล้ว
ปลาเล็กที่จะลงเติบโตในทะเลจะมีได้ยังไง
อีกทั้งบริษัทที่เอาปลาเข้ามาก็มีการปล่อยน้ำลงสู่คลองนี้ด้วย
หน่วยงานราชการเองก็หละหลวมกันเกินไปปล่อยให้จนมาสู่การระบาด
แล้วตามแก้ไขทีหลังมันก็คงเป็นเรื่องยาก
จากการสังเกตดูในการออกจับปลาของแต่ละชุดที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ต่างกัน แม้วันนี้จะจับมาได้น้อย แต่ใช่ว่าการระบาดของจำนวนปลาหมอคางดำนั้นจะมีน้อย แต่กลุ่มที่ลงเรือไปจับนั้นจับไม่ได้เอง การพบเห็บปลาหมอใน
สนับสนุนโดย: สวนน้ารวยพันธุ์ไม้คลองนั้นมีจำนวนมากและหลากหลายรุ่น
พบตั้งแต่ที่ลูกปลาพ่อปลาอมอยู่ในปากจนถึงขนาด 20 ซม.ขึ้นไป
โตเกินกว่าที่จะมีปลาอื่นมามาล่ามันได้
ส่วนทางด้านกลุ่มอนุรักษ์ปูที่เปิดโรงรับจำนำแม่ปูเพื่ออนุบาลไข่ปูและนำไปปล่อยเพื่อแพร่ขยายพันธุ์ปูนั้น
ถึงกับคิดไม่ตกกับการระบาดของปลาหมอคางดำที่รอกินไข่ปู
นายนรงค์
ม่วงทองคำ ผู้ก่อตั้งโรงรับจำนำปู
เพื่อนำปูที่กำลังมีไข่มาเลี้ยงไว้และรอให้ตัวแม่ปูสลัดไข่ในตัวออกมาจนหมด
แล้วอนุบาลไข่ปูเหล่านั้นจนเหมาะสมที่จะปล่อยลงน้ำ
โดยบอกว่ากิจกรรมวันนี้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะเราจับปลาคางดำได้จำนวนน้อย แต่เราได้เห็นปลาพวกนั้นจำนวนมาก
หลังจากนี้ต้องรีบกำจัด
หน่วยงานก็ต้องมีความชัดเจนเรื่องราคาและสถานที่การรับซื้อเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับชาวบ้านให้ออกล่า
เพราะชาวบ้านเองตอนนี้ก็เริ่มรับรู้ถึงผลกระทบจาการที่สัตว์น้ำบางอย่างเริ่มหาได้ยากขึ้น
ทั้งนี้นายนรงค์ ได้กล่าวถึงข้อกังวลมาตลอดว่าการปล่อยปูของตัวเองในทุกๆ
3
วันเพื่อแพร่พันธุ์นั้นจะรอดเหลือบ้างไหมเพราะทุกครั้งที่ปล่อยจะเห็นปลาหมอคางดำมารวมกันเป็นฝูงเพื่อรอกินเหล่าพันธุ์ปูที่ตนเองอนุบาลมา
................................................................
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น